วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้งานโปรแกรม VMware เบื้องต้น

การใช้งานโปรแกรม VMware เบื้องต้น
โปรแกรม VMware เป็นโปรแกรมซึ่งใช้ในการสร้าง Virtual Machine (VM) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์
เสมือน คือ เป็นการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกเครื่อง(หรือหลายๆเครื่อง ถ้าแรมมากพอ)ภายใน
เครื่องของเราเอง ดังนั้นจึงทำให้เราสามารถทดลองใช้งาน OS หรือโปรแกรมอื่นๆที่เราสนใจโดยม่ต้องทำการ format เครื่องหรือใช้ PC อีกเครื่องหนึ่งมาเพื่อทดสอบระบบที่เราสนใจและ VM ที่กำลังมีการใช้งานอยู่บน VMware สามารถที่จะนำมาใช้งานภายนอกได้จริงในทันที(โดยใช้การ Bridge(Default) หรือ NATออกมาที่ Host ที่ได้ทำการ Run VMware อยู่) ดังนั้นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ VMware คือสามารถทำการจำลองการทำงานของระบบ Network ได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเมื่อลงโปรแกรมและเปิดการใช้งานก็จะได้เจอหน้าตาของโปรแกรมดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 หน้าตาของโปรแกรม VMware


เมื่อลงโปรแกรมเสร็จแล้วเราก็จะมาลงมือสร้าง VM กันเลยโดยเลือกที่ Menu File > New >
Virtual Machine ตามรูปที่ 2 แล้วจะได้หน้าต่าง welcome ตามรูปที่ 3
รูปที่ 2 การสร้าง Virtual Machine ใหม่


รูปที่ 3 หน้าต่าง Welcome Windows

เมื่อเข้ามาที่หน้าต่าง Welcome Windows แล้วก็กด Next สิครับอย่าช้า! แล้วก็เข้าหน้าต่าง
Appropriate Configuration อันนี้ก็เลือกเป็น Typical 

รูปที่ 4 การตั้งค่าของ Virtual Machine

รูปที่ 5 การเลือก Guest Operating System หรือ OS ที่ต้องการลง
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือก OS ที่เราต้องการสร้างเป็น VM ภายในเครื่องเราเลือกให้ตรงตามต้องการครับมีOS แทบทุกตัวที่เราต้องการ ตอนนี้ผมจะลงเป็น Ubuntu 6.1 นะครับท่านอื่นๆก็ลง OS 
ที่ต้องการได้เลยเช่นกัน เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็ต้องตั้งชื่อให้กับ Virtual Machine ที่เราจะสร้างและเลือกที่เก็บไฟล์ของ VM โดย Default จะเก็บอยู่ที่ C:\Documents and Settings\xxx\My Documents\My Virtual Machines แต่อันนี้ผมจะเลือกเก็บไว้ที่อื่นตามรูปที่ 6 กด next ต่อไปก็จะเป็นการกำหนดค่าของ Disk ที่ต้องการให้ VM ใช้โดย Default จะเป็น 8GB แต่ผมกำหนดให้เป็น 2GB เนื่องจากที่เหลือน้อยแล้ว ตามรูปที่ 7

รูปที่ 6 ตั้งชื่อและเลือกที่เก็บไฟล์ของ Virtual Machine

รูปที่ 7 การกำหนดค่าของ Disk ที่ต้องการใช้เป็น Virtual Machine

เมื่อตั้งค่าเบื้องต้นเสร็จแล้วก็จะกลับมาที่ Menu ตามเดิมดังรูปที่ 10 ถ้าต้องการตั้งค่าเพิ่มเติมเนื่องจากเราเก่งแล้ว (555) ก็สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้โดยการเลือกไปที่ Edit virtual machine setting ก็จะเข้าสู่
หน้าต่าง Virtual Machine Settings ดังรูปที่ 11

รูปที่ 8 หน้าจอ Menu หลังจากที่สร้าง VM เสร็จแล้ว

รูปที่ 11 หน้าต่าง Edit virtual machine setting

ที่หน้าต่างของ Edit virtual machine setting เราจะพบว่าอุปกรณ์ที่ต้องการแก้ไขจะเป็นรายชื่ออยู่ทาง
ซ้ายมือและค่าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้จะอยู่ทางขวามือ โดยเราสามารถปรับเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ของ VM ได้7 อย่างคือ
1. Memory = RAM ที่ Host ต้องการแบ่งให้ VM ใช้ถ้าต้องการใช้หลายๆ VM ก็ต้องมาปรับลด
ตรงนี้สำคัญมากในกรณีที่ RUN VM หลายๆตัวแล้วเปิด VM ไม่ขึ้นโดยจะต้องปรับให้
เหมาะสมตามการใช้งานเนื่องจากเป็นการแบ่ง RAM ไปใช้งานจริงๆ
2. Hard Disk = เป็นการแบ่ง Hard Disk ของเครื่องเราไปเป็น Disk ของ VM โดยจะต้องเลือกให้
เหมาะสมกับ OS ที่ลงด้วยการแก้ไขขนาดของ Hard Disk ใน VM นั้นไม่สามารถแก้ไขได้
หลังจากมีการสร้าง VM ไปแล้วจะทำได้เฉพาะการเพิ่ม Hard Disk เข้าไปเท่านั้นดังนั้นจึงควร
พิจารณาการกำหนดขนาดของ Hard Disk ก่อนลงมือสร้าง VM ทุกครั้ง!!

รูปที่ 12 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ Hard Disk
3. CD Rom = CD Rom ของ VM เพื่อให้ VM สามารถใช้งาน CD Rom ที่อยู่ที่เครื่องที่เราใช้งาน
อยู่(Host) หรือเลือกใช้ไฟล์ image CD ที่อยู่ภายในเครื่องเราก็ได้ ในกรณีที่เราต้องการใช้ CD ในการติดตั้งหลายๆแผ่นแนะนำให้สร้าง image CD ไว้ภายในเครื่องเนื่องจากจะสะดวกว่าการเรียกไฟล์จากแผ่น CDมาก ในส่วนของ CD การเลือก Use physical drive ขอให้กำหนดเป็น drive ที่ทำการใส่แผ่น CD อยู่
เนื่องจากในบางครั้ง VM จะหาแผ่นไม่เจอในกรณีที่เลือกเป็น Auto detect

รูปที่ 13 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ CD-ROM
4. Ethernet = LAN card ของ VM เป็นการกำหนดรูปแบบการต่อระบบ Network ของ VM กับระบบ Network จริงภายนอกโดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้
 a. Bridged เป็นการต่อ LAN card ของ VM ออกไปที่ LAN card ของเครื่องHostโดย ip ของ VM ที่ใช้งานจะเป็นคนละ ip กับเครื่องHost และสามารถทำให้เครื่องคอมเครื่องอื่นที่อยู่ใน Network สามารถติดต่อกับ VM เครื่องนี้ได้
b. NAT คล้ายกับการต่อแบบ Bridge แต่ ip ของ VM ที่ต่อออกไปที่ด้านนอกเครื่องคอมพิวเตอร์คอมเครื่องอื่นจะมองเป็น ip เดียวกับเครื่องHost
c. Host-only เป็นการต่อใช้งานเฉพาะ VM กับเครื่องHost เท่านั้น
d. Custom เป็นการเลือกการเชื่อมต่อกับระบบ Network ภายนอกในกรณีที่มีการใช้งาน
LAN card ของทั้ง VM และเครื่องHostหลาย card เพื่อเป็นการกำหนดว่าต้องการให้
LAN card ของ VM card ใด Bridge ออกไปที่ LAN card ใดของ Host เช่น กรณีที่
เครื่อง Host มี LAN card 2 ใบโดยใบที่ 1 ต่อกับ internet ใบที่ 2 ต่อกับ Network
ภายในบริษัท และกำหนดให้ VM มี LAN card 2 ใบเช่นกันโดยต้องการให้ทั้ง 2 LAN
card มีการต่อใช้งานแบบเดียวกันกับ Host จะต้องตั้งค่าแบบ Custom โดยจะต้องทำ
การตั้งค่าควบคู่กันกับ Menu Virtual Network Setting โดยการตั้งค่าจะมีตัวอย่าง
การกำหนดค่าเป็นตัวอย่างในบทความนี้ด้วย

รูปที่ 14 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ Ethernet
5. USB Controller = เป็นการกำหนดให้ VM สามารถใช้งานอุปกรณ์ USB ที่ทำการต่อเข้ามาใน
ระบบได้เมื่อมีการต่ออุปกรณ์เข้ามาที่เครื่อง Host

รูปที่ 15 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ USB Controller

6. Audio = เป็นการกำหนดให้ VM ใช้ Sound card ของ Host และในกรณีที่มี Sound card
มากกว่าหนึ่ง card สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ VM ใช้ Sound card ตัวใด

รูปที่ 16 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ Audio

7. Virtual Processors = เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ VM มี Processor (CPU) กี่ตัวเพื่อใช้ใน
การประมวลผลเพื่อทดสอบการใช้งานแบบ Multi-Processors

รูปที่ 17 หน้าต่าง Setting ในส่วนของ Virtual Processors

ตัวอย่างการเพิ่ม Hardware (LAN card) ใน VM
เมื่อต้องการเพิ่ม Hardware ใน VM ให้ทำการกดปุ่ม Add ที่หน้าต่าง virtual machine setting จะ
ปรากฏหน้าต่าง Add Hardware Wizard ดังรูปที่ 18

รูปที่ 18 หน้าต่าง Add Hardware Wizard
ต่อไปกด Next จะได้หน้าต่างให้เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปใน VM ดังรูปที่ 19 โดยจะเป็น
รายการให้เลือกเหมือนกับรายการ Hardware ที่ VM กำหนดมาให้ในตอนแรกแต่จะมีรายการเพิ่มเข้ามา
คือ
- Serial Port
- Parallel Port
- Generic SCSI Device

รูปที่ 19 รายการ Hardware ที่สามารถเพิ่มเข้าไปใน VM ได้
ในตอนนี้ผมขอเพิ่ม LAN card เป็นตัวอย่างครับ โดยเลือกที่ Ethernet Adapter แล้วกด Next
ต่อไปจะอยู่ที่หน้าต่างให้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อของ LAN card ที่เพิ่มเข้ามาโดยเลือกให้ตรงตาม
รูปแบบที่ต้องการใช้งานของแต่ละคนแล้วกด Finish ก็จะเป็นการจบขั้นตอนการเพิ่ม Hardware ให้กับ VM

รูปที่ 20 เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อของ LAN card เพื่อสิ้นสุดการกำหนดค่า

เริ่มการลง OS ใน VM
หลังจากได้ทำการตั้งค่าพื้นฐานที่ต้องการทั้งหมดให้กับ VM แล้วต่อไปก็เป็นการลง OS ที่ตัว VM
ซะทีให้กดที่ปุ่ม Power On ที่แถบ Menu ด้านบน(ปุ่ม Play สีเขียว)ดังรูปที่ 21 ก็จะเหมือนกับการเปิด
เครื่อง VM ให้เริ่มทำงานแล้วก็จะขึ้น Logo VMWARE ดังรูปที่ 22 โดยถ้ากด F2 ก็จะเป็นการเข้าสู่ Bios
ของ VMWARE ที่จำลองขึ้นโดย Bios ของ VMWARE จะมีหน้าตาเหมือนกับ Bios ของ Bios ยี่ห้อหนึ่งที่เราเคยใช้งานเลย (ลองกดเข้าไปดูกันเองนะครับ)

รูปที่ 21 กดปุ่ม Power On (สีเขียว) เพื่อสั่งให้ VM ทำงาน

รูปที่ 22 หน้าตาของ VMWARE ขณะที่ทำการ boot

ในตอนนี้ผมใส่แผ่น ubuntu ลงไปมันก็จะทำการ boot ubuntu ขึ้นมาให้ถ้าท่านอื่นใส่อะไรเข้าไปก็จะขึ้น
ตามนั้น ถ้าไม่ขึ้นก็ลองเช็คแผ่นหรือเลือก Drive CD ให้ตรงกับที่ใช้งานอยู่และต้องเป็นแผ่นที่ boot ได้ด้วย

รูปที่ 23 หน้าตาเมื่อ boot จากแผ่นได้เป็นปกติ

ถึงขั้นตอนนี้แล้วก็เริ่มลงมือตามขั้นตอนการลง OS แบบปกติต่อได้เลยวิธีการลงก็จะแตกต่างกันตามแต่ละOS ที่จะใช้งาน
รูปที่ 24 OS ububtu เมื่อทำการ boot จากแผ่น CD เรียบร้อยแล้ว
ต่อไปก็เป็นการลองใช้งาน Full Screen Mode ของ VMWARE กันเพื่อให้ได้ความสมจริงในการใช้
งาน OS เนื่องจากอาจจะมีบางท่านต้องการใช้งาน VM แบบเต็มหน้าจอเนื่องจาก OS ที่ใช้งานบน VM
แสดงผลได้ไม่เต็มหน้าจอทำให้ขาดรายละเอียดบางส่วนและทำให้ใช้งานไม่สะดวก ให้ทำการกดปุ่ม Full Screen (Icon ตรงกลางในรูปที่ 25) ก็จะได้หน้าจอของ OS ใน VM เป็นแบบ Full Screen ดังรูปที่ 26
รูปที่ 25 ปุ่มเลือก Full Screen

รูปที่ 26 การแสดงผลของ VM แบบ Full Screen

                                      

หลังจากได้ทำการลง OS กันไปแล้วต่อไปนี้ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า VMWARE นั้นสามารถที่
จะลง OS หลายๆแบบดังชุดรูปที่ 27


ชุดรูปที่ 27 แสดงการลง OS หลายๆแบบใน VMWARE


วิธีติดตั้ง Windows 8

วิธีติดตั้ง  แบบ Clean Install ลง Win 8 ง่ายๆไม่ง้อช่าง
ในการลงวินโดวส์นั้นหลายคนยังมีอาการกลัวอยู่ว่า เดียวจะลงผิดลงถูกทำให้ใช้ไม่ได้ จึงต้องพึ่งช่างตามร้านคอมพิวเตอร์ก็ต้องเสียเงินมากน้อยก็แล้วแต่ร้าน ผมจะมาบอกว่าความจริงแล้วลงวินโดวส์นั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรสำหรับWindows 8 นั้นลงง่ายมากๆ ถึงจะมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมามากกว่า Windows 7 แต่คงไม่ยากเกินความสามารถของคุณๆ หรอกครับ ยิ่งถ้าเคยลง Windows 7 มาบ้างแล้วยิ่งเป็นการง่าย
วันนี้ผมจะมานำเสนอวิธีการลง Windows 8 แบบ Clean Install ก็คือแบบล้างเครื่องหรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่กันเลย....มาตามดูครับ
ในที่นี้ผมจะใช้วิธีการติดตั้งจากแผ่น DVD ของ Windows 8 นะครับ
1.ก่อนอื่นใส่แผ่นติดตั้งลงในเครื่องอ่านดีวีดีของคอมพิวเตอร์ ทำการบูตเครื่องให้ไปตั้งไบออสของเครื่องให้บูตจากแผ่นดีวีดีเป็นอันดับแรกซึ่งการเข้าไบออสนั้นส่วนมาก ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็จะกดปุ่ม Del ส่วนแลปทอปก็จะกดปุ่ม F2ให้ดูที่คู่มือของแต่ละเครื่องก็แล้วกัน
เมื่อเครื่องบูตขึ้นมาจนเห็นคำว่า Press any key to boot from CD or DVD... ให้กด ENTER เลยครับ
2.ปล่อยให้เครื่องทำงานไปจนได้จนปรากฎดังภาพ ให้คลิกเลือกรายการตามนี้
  • Language to install : English
  • Time and currency format : Thai(Thailand)
  • Keyboard or input method : ตัววินโดวส์จะเลือกให้เป็น Thai เพราะเห็นว่า Time and currency formatตั้งเป็น Thai ให้เราเลือกกลับมาเป็น US ก่อน เหตุผลเพราะเมื่อติดตั้งเสร็จหน้าล็อกออนเข้าระบบจะเป็นภาษาไทย เราอาจงงได้ในการกรอกชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ด
3.ในหน้าต่าง Windows Setup ให้คลิก Install now เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows 8
4.ในหน้าต่าง License terms คลิกถูก I accept the term license จากนั้นคลิก Next
5.ในหน้าต่าง Which type of installation do you want? ให้เลือกเป็น Custom: Install Windows only (advanced)
6.ในหน้าต่าง Where do you want to install Windows? ให้เลือกฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันที่ต้องการติดตั้ง (ในที่นี้เลือก Drive 0) เสร็จแล้วคลิก Next
ข้อควรจำในขั้นตอนนี้
  • ขั้นตอนนี้เราเลือก Drive ที่จะลง Windows8 ส่วนมาก จะลงใน Disk/Drive 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของWindows เรานั้นเอง ระวังให้ดีอย่าลงผิดไดร์ฟนะ ในกรณีที่มีพาร์ติชันมากกว่า 1 พาร์ติชัน
  • ในการ Format Windows ข้อมูลจะหายเฉพาะที่ Drive C นะครับ
สำหรับเครื่องที่มี Windows XP , Windows 7 แล้วจะลงใหม่เป็น Windows 8
1.ให้ทำการ Format Drive ที่เป็นวินโดวส์ตัวเก่าก่อน โดยทำการกด Drive options (advanced) จากนั้นเลือก ไดร์ฟของวินโดวส์เก่าแล้วคลิก Format... ย้ำอีกทีดูดีๆนะครับ ถ้าผิดไดร์ฟข้อมูลในไดร์ฟหายหมดนะ
2. จากนั้นก็เลือก Drive/disk ที่เรา Format ไปจากข้อที่ผ่านมา จากนั้นกด Next
สำหรับเครื่องที่เพิ่งซื้อมาใหม่หรือฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่
1 ให้เราทำการกด Drive options จากนั้นเลือกฮาร์ดดิสก์แล้วคลิก New เพื่อทำการแบ่งพาร์ติชันวินโดวส์ให้แบ่งมาสัก80 -100 GB ก็พอ ( 1GB = 1024 MB)
2 จากนั้น ก็แบ่งส่วนที่เหลือไว้ให้กับ Drive D , E ตามความเหมาะสม
3 ต่อมาให้เลือกไดร์ฟที่จะให้ลงวินโดวส์ โดยทำการคลิกบน Drive/Disk แล้วคลิก Next
7.ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows 8 โดยจะดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ของวินโดวส์ตามนี้ Copying Windows files, Getting files ready for installation, Installing features, Installing updates และ Finishing upให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ ก็ประมาณ 15 - 20 นาที ขึ้นอยู่กับเครื่องว่าแรงขนาดไหน
8.เมื่อ Windows 8 ติดตั้งเรียบร้อย เครื่องจะรีสตาร์ท 1 ครั้ง
9.หลังจากทำการติดตั้งแล้วเสร็จ Windows จะทำการรีสตาร์ทเครื่อง 1-2 รอบ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างPersonalize ให้ทำการเลือกสีของ Background และกำหนดชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใส่ชื่อที่ต้องการในช่อง PC name เสร็จแล้วคลิก Next
10.ขั้นตอนการ Settings ให้เราเลือก Use Express Settings เพื่อทำการตั้งค่าระบบแบบด่วน
11.ในหน้าต่าง Sign in to your PC ให้คลิก Sign in without a Microsoft account แล้วคลิก Next
** ในขั้นตอนนี้จะมีวิธีการ Sign in to your PC อยู่ 2 วิธี ได้แก่ Email Address และ Sign in without a Microsoft account สำหรับในที่นี้ผมขอให้เลือก Sign in without a Microsoft account เพราะสะดวกกว่า ส่วนEmail Address เราต้องต่ออินเตอร์เน็ตและต้องมีอีเมลของ outlook.com หรือ Hotmail.com อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเราสามารถสร้างได้ภายหลังที่เข้าใช้วินโดวส์แล้วก็ได้ **
12.หน้าต่างต่อมาให้คลิก Local account
13.ต่อมาให้กำหนดชื่อผู้ใช้ในช่อง User name แล้วกำหนดรหัสผ่านที่ต้องการ 2 ครั้ง ในช่อง Password และReenter password จากนั้นข้อความช่วยจำรหัสผ่านในช่อง Password hint แล้วคลิก Finish
14.ระบบจะทำการจัดเตรียมระบบตามการตั้งค่า
15.ระบบแนะนำการใช้งานเบื้องต้นจากหน้านี้ก็จะเข้าหน้า Lock on Screen
16.เมื่อมาถึงหน้า Lock on Screen คุณก็พร้อมใช้งาน Windows 8 ได้แล้ว
จบแล้วครับสำหรับการติดตั้ง Windows 8 แบบ Clean Install ผมคิดว่าคงไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้ในติดตั้งระบบวินโดวส์ด้วยตนเอง

วิธีติดตั้ง Windows7

เมื่อใส่แผ่นติดตั้งและเปิดเครื่อง จะมีคำสั่งให้บู๊ทจากแผ่น ให้กดปุ่มใดๆก็ได้เพื่อบู๊ทแผ่นติดตั้ง
เริ่มบู๊ทแผ่นติดตั้ง
*หากไม่บู๊ทแผ่นให้ต้องเข้าไปเซ็ต Bios หากเข้าไม่เป็นให้กดปุ่มบู๊ทเมนู
โดยเลือกกดปุ่ม ตามยี่ห้อ  PC และ NB (notebook) และคอลัมภ์ Boot

PC              Bios                  Boot
====================
ASUS           Del                  F8
ECS             Del                  F11
Biostar         Del                  F12
ASROCK      Del,F2             F11
HP*             F1                   ESC        (* board ASUS)
Gigabyte      F2                   F12


NB              Bios                  Boot
====================
Acer            F2                    F12
HP               F10                  F9
Compaq      F10                  F9
Lenovo        F2                   F12
ASUS           F2                   Esc
Samsung     F2                   Esc (ต้องกดเร็วๆ)
DELL           F2                   F12